วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัยการพัฒนาผู้เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน (สู่งานอาชีพ) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ส่งเสริมความรู้ความสามารถของนักเรียน
2. ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การจัดทำโครงงานพืชสมุนไพรมีคุณค่า ชุมชนพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"



ชื่องานวิจัย              :    รายงานการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์  " เรื่อง ขนมไทยอนุรักษ์ในท้องถิ่นจากสีธรรมชาติ"   สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  
ผู้เขียน                   :  นางเบญจวรรณ    ไกรสวัสดิ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้: วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี   โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี

วัตถุประสงค์           : 
·        เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
·        เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรีที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี ซึ่งเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ปกติ
·        เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ขนมไทยอนุรักษ์ในท้องถิ่นจากสีธรรมชาติ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น

โดยรายละเอียดในการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้นำเสนอหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ขนมไทยอนุรักษ์ในท้องถิ่นจากสีธรรมชาติ ใช้เวลาเรียนจำนวน 9 ชั่วโมง ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน  4  แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรายละเอียดดังนี้
1. ความรู้เรื่องสีที่ได้จากธรรมชาติ                                                            จำนวน 1 ชั่วโมง
2.สำรวจผู้มีความรู้การทำขนมไทยอนุรักษ์ในท้องถิ่นจากสีธรรมชาติ       จำนวน 2 ชั่วโมง
3. ประวัติความเป็นมาของขนมไทยอนุรักษ์ในท้องถิ่นจากสีธรรมชาติ     จำนวน 1 ชั่วโมง
4.การวางแผนทำโครงงานขนมไทยอนุรักษ์ในท้องถิ่นจากสีธรรมชาติ     จำนวน 1 ชั่วโมง
5.การปฏิบัติงานประกอบขนมไทยอนุรักษ์ในท้องถิ่นจากสีธรรมชาติ      จำนวน 4 ชั่วโมง
ขนมตาลเมืองเพชรบุรี
ขนมน้ำดอกไม้
ขนมเกสรลำเจียก
ขนมเรไร
ขนมเล็บมือนาง
-  ขนมหยกมณี

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขนมไทยอนุรักษ์ในท้องถิ่นจากสีธรรมชาติ



ตัวอย่างการทำขนมไทย "ขนมตาลเมืองเพชรบุรี"

เครื่องปรุง
     1. แป้งข้าวเจ้า                       1/4  ถ้วยตวง
     2. เนื้อตาลสุก                        1/2 ถ้วยตวง
     3. ผงฟู                                1-2 ช้อนชา (ไม่จำเป็นต้องใส่)
     4. น้ำกะทิ                            1 ถ้วยตวง
     5. น้ำตาลทราย                      1/2 ถ้วยตวง (ชอบหวานมากเพิ่มได้)
     6. มะพร้าวทึนทึกขูด        1/4  - 1/2 ถ้วยตวง (ไว้โรยหน้าขนม)
     7. เกลือป่น                           1/4 ช้อนชา

วิธีทำ
     1. เลือกลูกตาลสุก ล้าง ปอก ขูดเนื้อตาลออก

      2. เนื้อตาลที่ได้ ส่วนเมล็ดตาลนำไปขยำกับน้ำให้เนื้อออกให้หมด 

      3. ตวงแป้งใส่ชาม ใส่เนื้อตาลสุกลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันดี


      4. ใส่น้ำตาลทรายและน้ำกะทิลงไปทีละน้อย
  
      5. นวดส่วนผสมไปเรื่อยๆเพื่อให้แป้งเหนียว เมื่อเติมน้ำกะทิที่เหลือลงไปจนหมด คนให้ส่วนผสมเหลวเป็นเนื้อเดียวกันใช้ได้ปิดฝาไว้แล้วเอาแป้งที่ผสมไว้ไปตากแดดจนแป้งขึ้นฟูเป็นฟองๆ ระยะเวลาแล้วแต่อากาศที่บ้านของแต่ละคนว่าจะหนาวร้อนแค่ไหน แป้งขึ้นฟูดีแล้ว เอาไปใส่กระทงหรือถ้วยตะไลนึ่งได้ ใช้ไฟแรงน้ำข้างล่างต้องเดือดจัดก่อน ถึงเอาขนมไปนึ่งตัวอย่างวันนี้เราใช้ฟอร์ยทำกระทง ถ้าใครใช้ถ้วยตะไล ให้นึ่งถ้วยตะไลให้ร้อนจัดก่อนที่จะตักแป้งใส่ลงไป ใส่มะพร้าวทึนทึกขูดที่ผสมกับเกลือป่นไว้ลงไปบนหน้า นึ่งประมาณ 7 – 10 นาที หรือจนขนมสุกดี ยกลงได้

*หมายเหตุ

     1. สำหรับคนที่ดูแล้วแป้งไม่ขึ้นฟูไม่มีฟองอากาศมากนัก ก่อนนึ่งให้ใส่ผงฟูลงไป แล้วก็คนแรงๆให้เข้ากันดี ก่อนตักแป้งใส่กระทงนึ่ง

     2. ถ้าน้ำไม่เดือดจัดขนมจะไม่ฟู



วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เครื่องดื่มน้ำสมุนไพรจากพืชในท้องถิ่น



ตัวอย่างการทำเครื่องดื่ม "น้ำลูกตาลอ่อน"

ตัวอย่างการทำเครื่องดื่ม "น้ำตาลสด"



วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554